ค้นหาสมุนไพร  
     
   
   
   
     
 
   
eherb ผลการค้นหา Lady's finger, Okra
Lady's finger, Okra
Abelmoschus esculentus (L.) Moench
 
 
 
 
 
รายละเอียดทางพฤษศาสตร์
 
  วงศ์ Malvaceae
 
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Abelmoschus esculentus (L.) Moench
 
  ชื่อไทย กระเจี๊ยบมอญ
 
  ชื่อท้องถิ่น - มะเขือมื่น(คนเมือง) - มะเขือพม่า มะเขือมื่น มะเขือละโว้ (ภาคเหนือ) [7]
 
  ลักษณะทาง พฤกษศาสตร์ - ไม้ล้มลุก สูง 1-2 ม. ลำต้นตั้งตรง มีขนหยาบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ มี 3-7 แฉก กว้างและยาว 10-30 ซม. ขอบจักไม่สม่ำเสมอ ผิวใบมีขนหยาบทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 7-15 ซม. มีขนหยาบ หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาว 7-10 มม. มีขนหยาบ ดอก ออกเดี่ยวตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1-2 ซม. มีขนหยาบ ริ้วประดับมี 8-10 แฉก รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.5 ซม. มีขนหยาบ กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายกาบ มีขนรูปดาวหนาแน่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ กลางดอกสีม่วงแดง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 4-5 ซม. ผล แบบผลแห้งแตก รูปยาว ปลายแหลม มีห้าเหลี่ยมตามยาว กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 10-22 ซม. มีขนหยาบแข็งมี 5 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดมาก เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม. [7]
 
  ใบ ใบ เดี่ยว เรียงสลับ รูปฝ่ามือ มี 3-7 แฉก กว้างและยาว 10-30 ซม. ขอบจักไม่สม่ำเสมอ ผิวใบมีขนหยาบทั้งสองด้าน ก้านใบยาว 7-15 ซม. มีขนหยาบ หูใบคล้ายเส้นด้าย ยาว 7-10 มม. มีขนหยาบ
 
  ดอก ดอก ออกเดี่ยวตามง่ามใบ ก้านดอกยาว 1-2 ซม. มีขนหยาบ ริ้วประดับมี 8-10 แฉก รูปเส้นด้าย ยาวประมาณ 1.5 ซม. มีขนหยาบ กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายกาบ มีขนรูปดาวหนาแน่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ กลางดอกสีม่วงแดง เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-7 ซม. กลีบดอกรูปไข่กลับ ยาว 4-5 ซม.
 
  ผล ผล แบบผลแห้งแตก รูปยาว ปลายแหลม มีห้าเหลี่ยมตามยาว กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 10-22 ซม. มีขนหยาบแข็งมี 5 ช่อง แต่ละช่องมีเมล็ดมาก เมล็ด กลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 4-5 มม.
 
  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผล ลวกกินกับน้ำพริก(คนเมือง) - ทั้งต้น ให้สารเมือกมาก ใช้หล่อลื่นทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ใช้ขับปัสสาวะ ผล ผลแห้งป่นชมน้ำดื่มแก้โรคกระเพาะอาหาร เป็นยาหล่อลื่นภายใน ผลอ่อน ระงับพิษ ขับปัสสาวะ แก้ไอ และรับประทานเป็นผัก [7]
 
  อ้างอิง เต็ม สมิตินันทน์,2544. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย. ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
[7] ก่องกานดา ชยามฤต, 2540. สมุนไพรไทยตอนที่ 6 . ส่วนพฤกษศาสตร์ป่าไม้ สำนักวิชาการป่าไม้ กรมป่าไม้, กรุงเทพฯ.
 
  สภาพนิเวศ -
 
  เอกสารประกอบ
 
ภาพนิ่ง